ไขข้อสงสัยทำไมอายุ 4 ขวบ แล้วยังพูดไม่ได้พร้อมวิธีแก้ไข

ทำไม-4-ขวยยังพูดไม่ได้

เป็นปัญหาที่ค้างคาใจสำหรับผู้เป็นพ่อแม่ของเด็กในวัยอายุระหว่างสามถึงห้าขวบที่บางคนยังมีปัญหาในการพูดและยิ่งสร้างความกังวลหนักให้กับพ่อแม่เมื่อพบว่าเพื่อนในวัยเดียวกันสามารถพูดได้เป็นปกติตามวัย วันนี้ทางเราจึงจะมาไขข้อสงสัยและชี้แจงเกี่ยวกับพัฒนาการทางการพูดในแต่ละช่วงวัยให้คุณได้เข้าใจรวมถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่พ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยได้

พัฒนาการการพูดช่วงอายุ 1 ขวบ

ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เด็กมีการเปล่งเสียงออกมาเป็นคำสั้น ๆ หนึ่งคำได้แล้ว หากคุณพบว่าลูกของคุณไม่มีการเปล่งเสียงเหล่านี้ออกมาเลยเป็นอาการแรกเริ่มที่ตัวเด็กไม่มีการเรียนเสียงตามแบบของพ่อแม่และแสดงให้เห็นว่าอาจมีปัญหาในด้านการสื่อสารเกิดขึ้น

คุณพ่อคุณแม่สามารถแก้ไขโดยการพยายามออกเสียงสูงต่ำง่าย ๆ ให้กับลูกอย่างเช่น การออกเสียงคำว่า มา หรือหม่ำ หม่ำ, ปา, อา และอื่น ๆ ที่สามารถเพิ่มเสียงวรรณยุกต์เข้าไปได้พยายามออกเสียงพยางค์เดียวซ้ำๆต่อเนื่องเพื่อให้ลูกค่อย ๆ จำคำพูดแล้วต่อมาจึงพยายามใส่ความหมายเข้าไปในการสื่อสารอย่างเช่น ข้าว ปลา น้ำ

พัฒนาการการพูดช่วงอายุ 2 ขวบ

ในวัยนี้เด็กจะสามารถพูดคำที่มีความหมายได้ติดต่อกันสองพยางค์ขึ้นไปแล้วหรืออาจจะเป็นวลีที่สื่อสารให้ตัวเด็กสามารถปฏิเสธหรือตอบรับตามความต้องการของตนเองได้และหากว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับลูกของคุณแปลว่าอาจเกิดความผิดปกติทางด้านการสื่อสารและอารมณ์ของตัวเด็กผู้ปกครองจึงสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีนี้

ให้ทำกิจกรรมระหว่างวันด้วยกันกับลูกของคุณมากขึ้นอย่างเช่นการให้กินข้าวหรือกินนมแล้วค่อย ๆ ขยายคำพูดของลูกที่คุณได้ยินจากหนึ่งพยางค์กลายเป็นสองพยางค์เพื่อเพิ่มความเข้าใจและการรับรู้ถึงความหมายในแต่ละคำสร้างการสื่อสารระหว่างพ่อแม่และลูกให้มากยิ่งขึ้น การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกเป็นการฝึกให้ลูกของคุณสามารถพูดตอบรับหรือปฏิเสธตามความต้องการของลูกได้สร้างทักษะในการแสดงอารมณ์และคุณพ่อคุณแม่อาจจะสามารถตั้งคำถามเพื่อเปิดโอกาสให้กับลูกของคุณสามารถปฏิเสธหรือตอบรับได้ยกตัวอย่างคำถามเช่น ทานแคร์รอตไหมคะ เพื่อให้ลูกได้ตอบให้ตรงคำถามทำแบบนี้บ่อย ๆ เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นเอง

พัฒนาการการพูดช่วงอายุ 3 ขวบ

โดยปกติทั่วไปแล้วเด็กในวัยสามขวบจะสามารถพูดคำต่อเนื่องได้สามคำติดต่อกันและคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตด้วยว่าคำพูดที่ลูกใช้มีความหมายที่ทำให้คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้หรือไม่มีความผิดปกติในการเรียงประโยคหรือทำให้คนแปลกหน้าเข้าใจในสิ่งที่ลูกคุณต้องการจะสื่อได้หรือไม่ เด็กวัยนี้จะสามารถร้องเพลงสั้น ๆ ได้ แต่หากคุณพบว่าลูกค้ามีพฤติกรรมเหล่านี้ให้แก้ไขโดยการ

ใช้คำพูดที่มีประโยค สามคำให้ลูกฟังบ่อย ๆ อย่างเช่น ขอกินข้าว ขอนมหน่อย แม่อยู่บ้าน คำพูดเหล่านี้ เมื่อเด็กได้ฟังบ่อย ๆ ก็จะสามารถปรับตัวเพื่อให้ใช้คำเหล่านี้ได้อย่างถูกต้องตามความหมายและเพื่อเป็นการสื่อสารระหว่างคนแปลกหน้าให้เข้าใจได้เล็กน้อยโดยการใช้บทสนทนาประจำวันเป็นตัวช่วยหรือคุณสามารถร้องเพลงไปกับลูกด้วยเพลงง่าย ๆ ประกอบการเต้นตามจังหวะได้

พัฒนาการการพูดช่วงอายุ 4 ขวบ

ในวัยนี้เด็กจะสามารถสื่อสารในเรื่องของสีรูปร่างและขนาดของสิ่งของที่เด็กได้พบเห็นและสามารถสื่อสารกับพ่อแม่เพื่อรับความช่วยเหลือและเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการหากลูกคุณยังไม่มีพฤติกรรมเหล่านี้ให้คุณพ่อคุณแม่สอนให้เด็กไหว้ผู้ใหญ่ตามมารยาท พูดขอโทษและขอบคุณให้ตรงตามสถานการณ์การทำแบบนี้จะทำให้ลูกของคุณรู้จักใช้คำพูดอย่างเหมาะสมได้โดยอัตโนมัติและเพื่อให้ลูกของคุณสามารถบอกสีขนาดสิ่งของรอบตัวได้คุณพ่อคุณแม่สามารถพูดคุยกับลูกในระหว่างทานข้าวบอกว่า วันนี้คุณแม่ใส่เสื้อสีขาว จานมีสีน้ำตาล คุณพ่อตัวใหญ่ เป็นต้น

พัฒนาการการพูดช่วงอายุ 5 ขวบ

เด็กวัยนี้ควรจะมีการพูดได้อย่างคล่องแคล่วในเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวันสังเกตว่าเมื่อลูกของคุณไปพบกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกันสามารถสื่อสารและพูดคุยกับเพื่อนวัยเดียวกันได้ปกติหรือไม่หากไม่ได้คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นให้ลูกมีพัฒนาการที่อยากพบปะและคุยมากขึ้นเมื่อลูกกลับจากโรงเรียนให้คอยถามว่าวันนี้ที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้างหรือตอนกลางวันนอนหลับไหมกินข้าวกับอะไรเพื่อให้ลูกสามารถลำดับเหตุการณ์และเล่าเรื่องได้

พัฒนาการของเด็กหัดพูดที่คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

ในช่วงเด็กวัย 1-5 ขวบเด็ก ๆ จะมีพัฒนาการด้านความจำและการพูดควบคู่กันไป คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องใส่ใจลูกเป็นพิเศษการพูดก็สำคัญต้องระวังเพื่อไม่ให้ลูกจำในสิ่งที่ไม่ดี เพราะลูกจะจำแล้วนำไปพูดตาม คุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้ลูกเพื่อให้เขาโตมาเป็นเด็กที่น่ารัก

บทความเเนะนำวันนี้