โรค ADHD หรือภาวะสมาธิสั้นหากพบในวัยผู้ใหญ่ที่มีอาการของโรคซึมเศร้าร่วมกับไบโพล่าแล้วจะเกิดปัญหาในการแยกอาการสำหรับหมออยู่มากเพราะการเกิดอาการ ADHD มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็กพบน้อยมากที่จะเกิดขึ้นในวัยรุ่นหรือมีอายุเกิด 8 ขวบขึ้นไป ดังนั้นการสันนิษฐานอาการของโรคในวัยผู้ใหญ่ที่มีลักษณะไม่อยู่นิ่งจะเป็นไบโพล่าหรือจะเป็นอาการสมาธิสั้นที่เกิดตั้งแต่เด็กแล้วไม่รู้ตัว ไม่เคยได้รับการรักษาต้องอาศัยนักจิตวิทยานักสังคมสงเคราะห์รับฟังปัญหาย้อนกลับไปในประวัติของผู้ป่วยเป็นสำคัญถึงจะวินิจฉัยได้
สาเหตุของการเกิดอาการโรคสมาธิสั้น ADHD
ภาวะของการเกิดโรคสมาธิสั้นหรือ Attention Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) มีสาเหตุมาจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติ สมองในส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างมีการหลั่งสารออกมาน้อยกว่าปกติส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถจดจ่อ ยับยั้งชั่งใจและการเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างปกติ โดยอาการผิดปกติดังที่กล่าวมานี้เกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุได้แก่ ความผิดปกติทางพันธุกรรม เด็กที่มีพ่อแม่เป็นโรคสมาธิสั้นอยู่แล้ว ลูกที่เกิดมามีโอกาสเกิดภาวะ ADHD ได้มากถึง 50%
สาเหตุที่สองเกิดขึ้นจากพฤติกรรมในระหว่างช่วงเวลาการตั้งครรภ์หรือจะกล่าวง่าย ๆ ได้ว่าอาการป่วยเกิดขึ้นเพราะแม่ผู้ตั้งครรภ์มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องไม่รักษาสุขภาพนั่นเอง เช่น สูบบุหรี่ ติดสารเสพติดหรือได้รับสารพิษประเภทตะกั่วในระหว่างการตั้งครรภ์ นอกจากนี้แล้วการคลอดทารกก่อนกำหนดหลายสัปดาห์รวมถึงทารกที่คลอดออกมาแล้วมีน้ำหนักตัวที่น้อยเกินไป เป็นต้น
ส่วนความเชื่อที่ว่าการเล่นเกมติดทีวี มือถือ TABLET IPAD มากเกินไปรวมถึงป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ กินอาหารที่มีส่วนผสมของสีผสมอาหารหรือช็อกโกแลตมากเกินไปทำให้เกิดภาวะโรค ADHD เป็นความเชื่อที่ผิดไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการเกิดขึ้นของโรคนี้
อาการของเด็กที่ป่วยด้วยโรคสมาธิสั้น Attention Deficit Hyperactivity Disorder
อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคสมาธิสั้นผู้ใกล้ชิดต้องอาศัยการสังเกตเรียนรู้พฤติกรรมและใส่ใจในตัวเด็กมาก ๆ อย่ามองข้ามพฤติกรรมแปลก ๆ ว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เป็นเด็กเจ้าอารมณ์ หรือเป็นเพียงเด็กเกเรก้าวร้าวเท่านั้น เพราะอาการเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะสมองหลั่งสารในจำนวนที่ผิดปกติไม่ใช่ความผิดของเด็กโดยตรง สารในสมองที่หลั่งน้อยเกินไปทำให้พฤติกรรมไม่ปกติ อาการที่สังเกตเห็นได้ เช่น
- ไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา ทำงานไม่สัมฤทธิผล
- กลัวคนแปลกหน้า ก้าวร้าว เสียงดัง วู่วาม ใจร้อนหุนหันพลันแล่น ไม่ชอบการเข้าสังคม
- มีอาการกล้ามเนื้อกระตุกเฉพาะส่วน
การดูแล ป้องกันและรักษาเด็กที่ป่วยด้วยภาวะสมาธิสั้น
วิธีการดูแล ป้องกันและรักษาเด็กที่มีภาวะป่วยด้วยโรคสมาธิสั้นสามารถทำได้ 2 วิธี ผู้ปกครอง บิดามารดาหรือผู้ที่ต้องดูแลเด็กที่มีภาวะของโรคนี้ต้องใช้ทั้งสองวิธีร่วมกันถึงจะได้ผลดีและมีโอกาสหายได้มากที่สุด เริ่มต้นด้วยการหากิจกรรมใหม่ ๆ ให้เด็กได้เข้าถึงและเรียนรู้ สำหรับเด็กที่อยู่ในวัยเรียนต้องอาศัยครู อาจารย์ที่มีทักษะดูแลเด็กที่มีลักษณะพิเศษเป็นการเฉพาะ การออกคำสั่งให้ปฏิบัติหลาย ๆ เรื่องพร้อม ๆ กันจะส่งผลให้เด็กเกิดความสับสนและไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ต้องออกคำสั่งเพื่อให้ปฏิบัติทีละเรื่อง ทีละอย่าง
การดูแล ป้องกันรักษาประการที่สองคือการพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษาด้วยยาเพิ่มปริมาณสารในสมองที่เกี่ยวกับการควบคุมพฤติกรรม การจดจ่อการมีสมาธิให้มากขึ้น และเด็กที่ป่วยด้วยภาวะนี้มักจะปรากฏโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย แพทย์จะทำการรักษาพร้อมกันไปทีเดียว เช่น ความบกพร่องในการเรียนการอ่าน โรคกล้ามเนื้อกระตุก โรควิตกกังวล พฤติกรรมก้าวร้าวต่อต้านสังคม เป็นต้น อาการร่วมเหล่านี้นี่เองที่ทำให้เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น วัยทำงานจะมีรูปแบบใกล้เคียงกับไบโพลาและมีอาการซึมเศร้าตามมานั่นเอง
สรุป ADHD โรคในวัยเด็กที่ดูแล ป้องกันและรักษาได้จริง
จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น การดูแลรักษาเด็กที่มีอาการสมาธิสั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่าย ในช่วงที่ไม่ได้เข้าสู่วัยเรียนคนในครอบครัวและแพทย์เฉพาะทางมีส่วนสำคัญ หากรักษาต่อเนื่องจนเข้าสู่วัยเรียนแล้วครู อาจารย์ เพื่อนร่วมชั้นเรียนก็เข้ามามีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้น การรักษาดูแลป้องกันในแต่ละช่วงวัยต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ การดูแลเอาใจใส่ สร้างความเข้าใจและรับยาอย่างต่อเนื่องจากแพทย์ช่วยให้อาการป่วยและความรุนแรงรวมถึงโรคที่เกิดขึ้นร่วมด้วยนั้นหายขาดและบรรเทาลงได้แน่นอน